วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู เรื่องสื่อเด็กเล็ก
 สรุป
เป็นการสอนในระดับอนุบาลเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักของใช้และของเล่น มีของจริงให้นักเรียนได้ดู  คือแก้วกระดาษกับเชือกนำเชือกไปจุ่มน้ำ แล้วดึงเชือกเลียนแบบเสียงต่างๆ เช่นเสียงไก่ เสียงตุ๊กแก ทำให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทางหู ว่ามันคือเสียงอะไร เสียงเป็นแบบไหน เด็กเห็นคุณครูทำเด็กก็อยากทำตามนั่นเพราะเกิดจากความสนใจของเด็ก ครูจึงให้เด็กออกมาทำทีละคนว่าเด็กสามารถทำได้มั้ย ปรากฎเด็กทำได้และเพื่อนก็ปรบมือให้ และเด็กก็สนุกสนานในการเล่น

การนำไปประยุคให้ให้เหมาะสม

         สามารถนำวิธีการดังกล่าวข้างต้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกการเรียนรู้เรื่องของเล่นและของใช้ให้แก่นักเรียน รวมทั้งการเล่านิทานก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับนักเรียนระดับอนุบาลอย่างยิ่ง

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28 พฤศจิกายน  พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
              ได้รับความรู้จากการนำเสนอการสรุปวิจัยและสรุปวิดีโอโทรทัศน์ครูจากเพื่อนๆและการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ต่างๆมานำเสนอและจัดหมวดหมู่ในเรื่อง  ลม,อากาศ,เสียง,แรงโน้มถ่วง,แสง,น้ำ   จากนั้นอาจารย์มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับแผนการสอนเรื่องวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาได้ทดลองทำและการสังเกตเพื่อค้นหาต้นเหตุในเรื่องๆนั้นๆ มีอุปกรณ์ ดังนี้
   
อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
   1.น้ำดื่ม                  2.น้ำแดง    
   3.กรวย                   4.เกลือทำไอศกรีม
   5.ยางรัดของ           6.ทัพพี
   7.ถุงร้อนเล็ก           8.น้ำแข็ง
ขั้นตอนการผสมวัตถุดิบ
     1.ผสมน้ำแดงกับน้ำเปล่า 

 2.กรอกน้ำแดงใส่ถุงร้อนเล็ก
 3.มัดปากถุงให้เรียบร้อย
 4.จากนั้นนำไปวางลงหม้อที่มีน้ำแข็งกับเกลือทำไอศกรีมผสมคุกเค้ากันแล้ว  โดยเพื่อนจะใช้วิธีการคนระหว่างถุงน้ำแดงกับเกลือคุกน้ำแข็ง หมุนหม้อไปมา  เพื่อทำให้เกิดความเย็นได้ทั่วถึงกับถุงน้ำแดง จะทำให้ถุงที่จุน้ำแดงแข็งได้ไวกว่าแช่ตู้เย็น  มีลักษณะดังนี้

จากการทดลองนี้สรุปได้ว่า  
              
            การแข็งตัวซึ่งช่วงนี้อุณหภูมิของน้ำจะคงที่ตลอด แต่หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำแข็งจะลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งลงไปจนเท่ากับอุณหภูมิของช่องแช่แข็ง แต่ทว่าบางครั้งน้ำอาจคงสภาพเป็นของเหลวได้โดยไม่เกิดการจับตัวแข็งเป็นน้ำแข็งแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิติดลบ ซึ่งเหตุปัจจัยที่ทำให้น้ำหรือของเหลวสามารถอยู่ในสภาวะอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้โดยไม่กลายเป็นของแข็งคือ น้ำหรือของเหลวนั้นต้องมีความบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีฝุ่น ผง ตะกอนใด ๆ ที่จะทำให้เกิดผลึกได้ รวมถึงผิวของภาชนะที่ใช้บรรจุก็ต้องมีผิวเรียบ สะอาดไม่มีฝุ่น ผงตะกอนติดอยู่ด้วยเช่นกัน 

การประเมิน
การประเมินตนเอง
       -เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน
       -แต่งกายเรียบร้อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม

การประเมินเพื่อน
       -เพื่อนมีการแต่งกายเรียบร้อย  แต่มีผู้ที่แต่งชุดนักศึกษา 1 คน
       -มีการตั้งใจฟังอาจารย์ได้เป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

การประเมินผู้สอน
       -อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำแผนการสอนและการนำเสนอที่ถูกต้องได้ดี
       -อาจารย์แต่กายสุภาพ เรียบร้อย  เข้าสอนตรงเวลา


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 19 พฤศจิกายน  พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น

 เริ่มต้นชั่วโมงเรียนโดยการนำเสนอวิจัย โทรทัศน์ครู ขั้นตอนการสรุปโทรทัศน์ครูคือ การส่งเสริมของเนื้อหา วิธีการแก้ไข วิธีการสอน ขั้นตอนการสอน
หลังจากการนำเสนอวิจัยอาจารย์ก็ให้เพื่อนๆร่วมกันทำ วาฟเฟล

ภาพบบยากาศและขั้นตอนการทำ วาฟเฟล





เทคนิคการสอน
     อาจารย์จะสอนแบบการที่นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เปรียบกับว่านักศึกษาเป็นเด็กๆที่พร้อมจะเรียนรู้ขั้นตอนการทำ Cooking อาจารย์ก็เตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเพื่อให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความพร้อมที่จะสอนเด็กปฐมวัยควรเป็นไปอย่างไร สิ่งไหนเหมาะ ไม่เหมาะกับเด็กการอธิบาย การสาธิตต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้
นำขั้นตอนการเรียนการสอนในวันนี้ ไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคต

ประเมินตนเอง
    วันนี้นำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียนไม่ผ่านอาจารย์ได้ให้คำำแนะนำในการสอนและการเขียนแผน และการทำ cooking ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นที่ตื่นตาให้กับดิฉันและเพื่อนๆในชั้นเรียนมาก

ประเมินเพื่อน
 เพื่อนแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมขนมวาฟเฟลมาก

ประเมินอาจารย์
 อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 11 พฤศจิกายน  พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น

 นักศึกษาออกไปนำเสนอแผน โดยมีกลุ่มที่ออกไปนำเสนอการสอนในหน่อยต่างๆดังต่อไปนี้  หน่วยสับปะรด หน่วยส้ม หน่วยทุเรียน  หน่วยมดแดง   บางกลุ่มนำเสนอออกมาได้ดี บางกลุ่มก็ต้องนำกลับไปแก้ไขเนื่องจากการสอนไม่ต้องกับวัตถุประสงค์วางไว้ กลุ่มของดิฉัน ได้นำเสนอเรื่องชนิดของดิน อาจจะมีผิดพลาดไปบ้างแต่เมื่ออาจารย์ได้ชี้แนะให้ฟังกลุ่มของดิฉันก็ได้ปรับให้ตรงกับแผน

อาจารย์สาธิตการสอนเด็กทำ Cooking

อุปกรณ์
1.ไข่ไก่
2.ปูอัด,ต้นหอม
3.ภาชนะใส่ไข่ เขียง มีด กรรไกร ช้อนซ้อม
4.กระดา
5.เครื่องทำCooking
6.ข้าว
7.เนย

เทคนิคการสอน
อาจารย์เน้นการสอนที่ตรงกับวัตถุประสงค์ จะย้ำนักศึกษาถึงประเด็นสำคัญเพื่อให้นักศึกษาจำและนำไปใช้ได้ถูกต้องให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด และอาจารย์จะนำรูปแบบการสอนแแบบถูกต้องมาสาธิตให้นักศึกษาสังเกตดูและจดจำเช่นการสอนทำ Cooking ขั้นตอนในการสอน การอธิบาย อุปกรณ์ที่พร้อมในการสอนเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมากมาย เป็นตัวอย่างการสอนที่ดี จากการที่อาจารย์ได้สาธิตให้ดู...ทั้งรูปแบบการสอน เทคนิคการพูด อุปกรณืในการสอน..

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และร่วมกิจกรรมที่คุณครูผู้สอนนำมาให้ทำ

ประเมินครูผู้สอน  
ครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา  และนำกิจกรรมดีๆมาให้นักศึกษาได้ทำ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 4 พฤศจิกายน  พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น

 วันนี้เป็นการนำเสนอกิจกกรมเกี่ยวกับแผนที่ตนเองได้เตรียมมา โดยมีแผนการจัดประสบการณ์ทั้งหมด 5 แผน  และเเต่ละแผนกิจกรรมก็มีความแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบการสอนในแต่วัน

กลุ่มที่1 นำเสนอเรื่องข้าว(ทำซูชิ)

ขั้นนำ 
    คุณครูมีการร้องเพลงข้าว เพื่อให้เด็กๆหันมาสนใจในกิจกรรมที่คุณครูกำลังจะสอน  แล้วนำจิกซอว์มาวางไว้ตรงหน้าเด็ก แลัวให้เด็กนำจิกซอว์มาต่อเป็นรูป แล้วเมื่อเด็กต่อเสร็จก็มีการซักถามเด็กว่า เป็นรูปอะไร 

ขั้นสอน 
   ครูได้ใช้คำถาม ถามเด็กว่าวันนี้เราเรียนเรื่องอะไร  และครูก็อธิบายเป้าหมายที่จะเรียนในวันนี้ว่าครูจะสอนการทำซูชิ  และได้บอกว่าหน้าซูชิแต่ละหน้ามีอะไรบ้าง  แล้วถามว่าใครอยากทำซูชิบ้าง  และครูกับเด็กก็ร่วมกันทำซูชิ

ขั้นสรุป
ครูได้ถามเด็กๆว่าเด็กๆชอบซูชิหน้าอะไรกันมากที่สุด โดยมีการทำตาราง  โดยมีหน้าซูชิดังต่อไปนี้ 
หน้าไก่ทอด   หน้าหมูย่าง  หน้าหมูอบ 

กลุ่มที่2กลุ่มกล้วย เป็นการนำเสนอการทำกล้วยทอด

ขั้นนำ
     คุณครูได้สอนเด็กร้องเพลงกล้วย  เต้นเพลงกล้วย  และมีการอธิบายเกี่ยวกับ   ลักษณะรูปทรงของกล้วย  และถามเด็กๆว่าใครเคยเห็นกล้วยบ้าง

ขั้นสอน 
    ครูได้นำอุปกรณืในการทำกล้วยทอดมาให้เด็กๆได้ดู ครูให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  โดยการให้เด็กๆร่วมกันปอกกล้วย   และหลังจากนั้นครูสอนวิธีการทอดกล้วย 

ขั้นสรุป 
     ครูซักถามว่าได้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี้  และถามว่ากล้วยมีกี่ชนิด  อะไรบ้าง 


เทคนิคการสอน
       จากแผนการเรียนการสอนที่เพื่อนๆได้นำเสนอไปมีทั้งข้อผิดพลาดและข้อที่ถูกต้อง แต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำหรือเทคนิคในการสอนต่างๆอาจารย์พยายามอธิบายหรือพูดซ้ำๆในข้อข้อที่สำคัญเพื่อให้นักศึกษาได้จดจำและเกิดการเรียนรู้เข้าในในการเขียนแผนการสอนและการสอนหน้าชั้นเรียนมากขึน

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำหลักการสอนที่อาจารย์ได้สอนมาไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต การปรับปรุงแก้ไขตนเองในจุดบกพร่องเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นคุณครูปฐมวัยที่มีคุณภาพ

ประเมินตนเอง 
ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังงานที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียนแต่อาจจะไม่ตรงประเด็นแต่อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำให้ได้ไปปรับปรุงในการนำเสนอครั้งหน้า

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน  และมีความพร้อมในการออกมานำเสนองาน

ประเมินครูผู้สอน  
ครูสอนเข้าใจมีการย้ำรายละเอียดอยู่ตลอดเวลา  เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28 ตุลาคม  พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น


เริ่มต้นชั่วโมง อาจารย์กล่าวถึง พื้นฐานของวิทยาศทสตร์
แนวคิดพื้นฐานที่ว่า ทุกสิ่งบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และความแตกต่างย่อมลแต่มีความแตกต่างกันหรือไม่ก็คล้ายคลึงกัน โดยอาศัยการปรับตัวและการพึงพาอาศัยกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล

เทคนิคการสอน
      เป็นการสอนที่สอนเด็กๆแบบไม่ชี้แนะแนวทางหรือบอกรายละเอียดกับเด็กก่อนแต่คุณครูจะปลอยให้เด็กๆตั้งคำถามขึ้นก่อน เช่น ทำไม อย่างไร เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เกิดกระบวนกาารคิด การตั้งคำถาม และทักษะการสังเกต การคาดคะเน และการตั้งสมมติฐาน

กิจกรรมและสิ่งที่ได้รับในการเรียนวันนี้

กิจกรรมที่ 1 ทำไมไฟถึงดับ


    ทำไมไฟถึงดับ  เพราะ อากาศที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้หมดไป ไฟก็เลยดับ

*อากาศ สิ่งมีชีวิตใช้ออกซิเจนในการหายใจ พืชใช้คาร์บอนไดออกไซน์ในการหายใจเพื่อนำไปสังเคราะห์แสง

กิจกรรมที่ 2 นำกระดาษรูปดอกไม้ลอยน้ำ
จากการทดลองสังเกตได้ว่า
      การที่นำกระดาษไปลอยน้ำทำให้กระดาษคลี่ขึ้นนั้นเนื่องจาก การที่น้ำซึมเข้าไปในกระดาษทำให้น้ำเข้าไปแทนที่ตรงที่ว่างของกระดาษ ทำให้กระดาษค่อยๆคลี่ออก สังเกตได้ว่า เริ่มจากการทดลองน้ำที่ใช้ในการทดลองเต็มตู้แก้วอยู่ แต่หลังจากการทดลองน้ำในตู้ค่อยๆลดลง เนื่องจากน้ำบางส่วนนั้นได้ซึมเข้าสู่กระดาษดอกไม่ที่นักศึกษาได้นำไปทดลองนั่นเอง

กิจกรรมที่ 3 การไหลของน้ำจากที่สูงลงที่ต่ำ
จากการทดลองสังเกตได้ว่า 
    หากเรานำขวดน้ำกับสายยางให้อยู่ในระดับเดียวกันน้ำจะไหลช้าและอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่ถ้าหากเราวางขวดน้ำไว้สูงกว่าระดับสายยางน้ำก็จะไหลเร็วและพุ่งสูงขึ้น เพราะยิ่งน้ำวางอยู่สูงแรงดันก็จะยิ่งมาก

กิจกรรมที่ 4 ดินน้ำมันลอยน้ำ
จากการทดลองสังเกตได้ว่า
     ดินน้ำำมันที่อาจารย์ให้นำมาปั้นเป็นรูปกลมๆกับรูปแบนๆ ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปกลมๆนั้นจะจมน้ำ แต่ดินน้ำมันที่ปั้นเป็นรูปแบนๆจะลอยน้ำบางอันเท่านั้น ชิ้นที่ลอยน้ำนั้นจะปั้นเป็นรูปแบนๆแล้วมีขอบจะไม่จม แต่ชิ้นที่ปั้นเป็นรูปแบนกว้างเลยจะจมน้ำ  
สาเหตุ ที่ดินน้ำมันจมน้ำเพราะดินน้ำมันมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ

การประเมิน

ประเมินตนเอง 
     ตั้งใจเรียน จดบันทึกและรับฟังการเรียนการสอน แต่กายถูกระเบียบเรียบร้อย และร่วมกิจกรรมการทดลองที่อาจารย์นำมาสอนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ แต่งกายถูกระเบียบข้องตกลงของห้อง 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคการสอนแบบให้นักศึกษาร่วมกันคิดก่อนที่อาจารย์จะอธิบายแนวทาง หรือข้อถูกต้องเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด และอาจารย์ได้นำการทดลองต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นของจริงไม่ใช่แค่ทฤษฏี

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 21 ตุลาคม  พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น


สิ่งที่ได้รับ
         เริ่มต้นการเรียนโดยการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ของเพื่อนที่ยังไม่ได้นำเสนอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วซึ่งสิ่งประดิษฐ์ของดิฉัน ได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์เรียกว่าฝาน้ำหมุนวน ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คือ สามารถหมุนได้เพราะเกิดจากความสมดุลของฝาขวดน้ำทั้งด้านทำให้สื่อของเราสามารถหมุนได้

   หลังจากที่นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เสร็จ  อาจารย์ก็ได้เริ่มเข้าสู่การสอนการเขียนแผนการเรียนซึ่งนักศึกษาอาจจะทำมาแบบยังผิดๆถูกๆอยู่แต่อาจารย์ก็ได้อธิบาย รายละเอียดเเละเทคนิคทักษะการเขียนแผนให้กับนักศึกษาอย่างละเอียด และมอบหมายงานเรื่องการเขียนแผนการเรียนรู้ของเเต่ละกลุ่ม แล้วนำมาส่งในสัปดาห์หน้า

เทคนิคการสอน
    อาจารย์ให้นักศึกษาอธิบายว่าของเล่นที่เราทำมาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร เป็นการฝึกว่าถ้าเด็กถามเราว่า สมมุติว่าเป็นเรือ เด็กอาจจะถามเราว่าทำไมเรือถึงลอยน้ำ เราจะได้ตอบเด็กๆว่าเพราะเกิดจากแรงลอยตัวหรือแรงพยุงซึ่ง ความหนาแน่นของเรื่อน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ เป็นต้น โดยอาจารย์จะถามเราก่อนว่าของล่นที่เรานำมานำเสนอนั้น เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร คำตอบจะถูกจะผิด อาจารย์จะเป็นคนชี้แนะเพิ่มรู้ให้นักศึกษารู้ถึงแนวทางแก้ไข หรือความรู้เพิ่มเติม...

ความรู้ที่ได้รับ
      ได้รู้ถึงเทคต่างๆในการประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ และของเล่นวิทยาศาสตร์บางชิ้นที่เราไม่เคยเห็นและไม่รู้จักมาก่อนจากเพื่อนๆของเรา สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตได้อีกด้วย

ประเมินตนเอง 
 เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  
ครูสอนเข้าใจ  เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา