วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น


สิ่งที่ได้รับ
เพื่อนออกมานำเสนอบทความ 5 คน

คนที่1 นางสาวกมลวัลย์ นาควิเชียร
เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     เด็กปฐมวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตูผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับพัฒนา 7 ทักษะกระบวนการ คือ......

  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการจำแนกประเภท
  3. ทักษะการวัด
  4. ทักษะการสื่อความหมาย
  5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
  6. ทักะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส,สเปสกับเวลา
  7. ทักษะการคำนวณ
คนที่2 นางสาวศิรดา สักบุตร
เรื่องภาระกิจตามหาใบไม้

    กิจกรรมการเรียนรู้จากใบไม้ที่โรงเรียนบ้านสลิดหลวงวิทยา ตำบลแม่ห้องสอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมบูรณาการที่ให้เด็กๆ ได้ฝึกการสังเกตและวาดภาพใบไม้ 
     "เดิมเด็กไม่ได้ลงมือปฎิบัติก็ไม่ค่อยสนใจเรียน เสียสมาธิง่าย อีกอย่างเด็กอนุบาลที่นี้เป็นเด็กชาวเขา 100% ครูก็สื่อสารยากเพราะไม่เข้าใจภาษาถิ่น เด็กก็ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องมีครูภาษาถิ่นเข้ามาช้วย โชคดีที่มีเด็กบางคนรู้ทั้ง2ภาษาก็จะช่วยเพื่อน บางทีก็ช่วยครูด้วยเหมือนกัน" 

    "พอนำเอาวิธีการสอนของ สสวท. มาใช้ เราก็บูรณาการวิชาภาษาไทยเพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งวิชาทำให้เด็กๆมีปฏิสัมพันธ์กะบครูมากขึ้น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดงออกมากกว่าเดิมไม่ต้องรอให้ครูบอกเพียงอย่างเดียว"

คนที่3 นางสาวศิรพร พัดลม
เรื่อง เรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการฉบับเด็กชายขอบ

         อีกหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กชายขอบให้สามารถ "ล่องแก่งอย่างไรให้ปลอดภัย" ซึ่งสอนเด็กๆให้รู้จักและเรียนรู้ถึงประโยชน์ของอุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง เช่น ไม้พาย หมวกกันน็อก เสื้อชูชีพ และวิธีการล่องแก่งที่ปลอดภัย จากการสังเกต คิดวิเคราะห์ตัวตัวเอง
          ครูพัชรา อังกูรขจร ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า ขณะนี้พ่อแม่เด็กหลายคนที่เข้ามาเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆได้กลายมาเป็นแกนนำผู้ปกครอง และสามารถจัดตั้งเป็น "เครือข่ายพ่อครู-แม่ครู" ถึง 12 กลุ่มเครือข่าย มาอาสาช่วยสอนและจัดกิจกรรมกับโรงเรียน ผู้ใหญ่หลายท่านในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ส้อดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ก็มาช่วยกัน ซึ่งช่วยแบ่งเบาปัญหาครูขาาดแคลนในพื้นที่ได้เป้นอย่างดี เนื่องจากผู้ปกครองหรือครูบ้างท่าไม่ได้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง ดังนั้น ก่อนทำกิจกรรมเราจะมาประชุมกันก่อนเพื่อสรุปว่า กิจกรรมแต่ละชุด เด็กจะต้องเรียนรู้ คำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ทุกฝ่ายจะได้เข้าใจตรงกันและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเราคงเริ่มที่รัดับประถมศึกษาก่อนถ้าหาก สสวท. สามารถขยายกิจกรรมลักษณะนี้ไปจนถึงประถมศึกษษ3 เท่ากับเด็กจะมีเวลาฝึกฝนกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึง5ปี ซึ่งน่าจะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมพอในการปลูกฝังเด็ก

คนที่4 นางสาวศิริวรรณ กรุดเนียม
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การแยกประเภทเมล็ดพืช มีความแตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด
วัตถุประสงค์
  1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย2ลักษณะ
  2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืช
วัสดุอุปกรณ์
  1. เมล็ดพืช ชนิด ขนาด รูปร่าง สี ที่แตกต่างกัน
  2. ถาด
  3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช  
กิรกรรม
  1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อแจกให้กับเด็กทุกคน
  2. หลังจากนั้นให้เด็กๆแยกประเภทของเมล็ด
  3. อธิบายเกี่ยวกับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กๆเดินดูของเพื่อนคนอื่นๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร
คนที่5 นางสาวขวัญฤทัย ใยสุข
เรื่อง การเป่าลูกโป่ง

***เพื่อนหาเนื้อหามาไม่ตรงกับที่อาจารย์สั่ง แต่อาจารย์ให้โอกาสเพื่อนออกไปนำเสนอในส่วนที่ตัวเองเตรียมมา***

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
  • พอใจคนที่ตามใจ
  • มีช่วงความจำสั้น
  • สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
  • อยากรู้อยากเห็นทุกอย่าง
  • ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
  • ช่วยตนเองได้
  • ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
  • พูดประโยคยาวขึ้น
  • ร้องเพลงง่ายๆและแสดงท่าทางเลียนแบบ
เรียนรู้        =   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เฟลอเบล  =   การเรียนรู้ผ่านการเล่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น