วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น


วันนี้อาจารย์ติชม เรื่องบล็อกเกอร์ บอกถึงข้อตกลงของบล็อกให้นักศึกษาทำตามข้อตกลงด้วย
สิ่งที่ได้รับและรายละเอียดการเรียนในวันนี้
วิธีการเรียนรู้คือ การลงมือทำ การปฎิบัติ
เด็กเรียนนรุ้โดยเด็กลงมือกระทำเองหรือเรียกอีกอย่างว่า วิธีการเรียนรู้  (How to Learn)
ข้อคิด กระจกยิ่งทำมุมกว้าง ยิ่งเห็นวัตถุน้อย ยิ่งทำมุมแคบ ยิ่งเห็นวัตถุได้มาก

รายวิชาเสริมประสบการณ์
- กาย = สุขภาพ ประสาทสัมผัสของกล้ามเื้อกับอวัยวะ
- อารมณ์ = การแสดงออกทางความรู้สึก
- สังคม = การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น การช่วยเหลือตนเอง
- สติปัญญา = การคิด การสื่อสาร

หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อน
คนที่ 1 นางสาววิรัญดา ขยันงาม

การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย

คนที่ 2 นางสาวอรุณจิตร หาญห้าว

นิทานมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คือ มีรูปภาพ เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไป ฟังง่าย สั้นๆกระชับ เรามักจะนำเนื้อหาความรู้ สอดแทรกผ่านการเล่านิทาน 
การร้องเพลง ลักษณะของเพลงต้องมีจังหวะ ทำนอง ฉะนั้นการเล่านิทานจึงง่ายกว่าการร้องเพลงประกอบเนื้อหาแต่ถ้ามองในความชอบของเด็ก เด็กจะชอบการเล่าเนื้อหา ประกอบเพลงมากกว่า

คนที่ 3 นางสาวณัฐิดา รัตนชัย

เรื่องแนวทางสอนคิด เติมวิทย์ ให้เด็กอนุบาล
ดร.วรนาท รักสกุลไท นักการศึกษาปฐมวัยผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า  เราคงทราบดีกันอยู่เเล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียรู้ ได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กรวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีสูงในด็กวัยนี้

คนที่ 4 นางสาวอนิทิมล เสมมา 

เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆกับคุณหนูๆ
การทดลองวิทาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้ เกี่ยวกับการสังเกตและการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล ทักษะการมอง ทักษะการฟัง  ทักษะการดม ทักษะการลิ้มรสช่วย ทักษะการสัมผัส เป็นต้น

หลังจากที่เพื่อนๆนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ตรวจและแสดงความคิดเห็น mind map งานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น