วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น

เริ่มต้นชั่วโมงเรียน ด้วยการผลิต กังหันหมุนแล้วให้นนักศึกษา ออกไปโยสิ่งประดิษฐ์ ของตน
แล้วสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ความแตกต่างของผลงานของแต่ละคน 
กิจกรรมนี้สามารถบูรณาการเข้ากับรายวิชาศิลปะสร้างสรรค์ได้  
ลม คือ แรงกระทบกับอากาศทำให้อากาศเคลื่อนที่หรื่อที่เรียกอีกอย่างอากาศที่เคลื่อนที่


การประดิษฐ์ชิ้นที่ 2 แกนทิชชู
ขั้นตอนการประดิษฐ์

1 นำกระดาษที่ได้มาพับครึ่ง  แล้วนำกรรไกรมาตัดเป็นแนวตรงยาวให้ชิดกับรอยพับครึ่งของกรรไกร
2 พับส่วนบนของกระดาษเข้ามา  1 เซนติเมตร
3 นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้ด้านที่พับส่วนบนเข้ามา  จากนั้นกางปีกส่วนที่โดนตัดออกไปคนละด้าน    กัน
4 นำมาทดลองเล่น  โดยการโยนและทำให้กระดาษหมุน
นำเสนอบทความ

1. นางสาวจิราวรรณ นวลโฉม
เรื่อง ฝึกลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์
วิธีฝึก การสอนแบบใช้ 5 E
1.การมีส่วนร่วม
2.ขั้นการสำรวจ ให้ค้นคว้าสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
3.ขั้นอธิบาย  ให้ลูกวิเคราะห์อธิบายขั้นที่ผ่านมาตามความเข้าใจ
4.ขั้นรละเอียด ให้เด็กได้เชื่อมโยงความรู้ และขยายความรู้ที่ได้เรียนรู้มา
5.ขั้นนประเมิน ให้เด็กประเมินนตนที่ผ่านมาอย่างเป็นไปแบบมีเหตุมีผล

2.นางสาวแอนนา ชาวสวน
เรื่อง วิทยาศาสตร์เรียนนรู้จากไก่และเป็ด
เป็นความแบบสืบเสาะ โดยให้เด็กรู้จักสังเกตเปรียบเทียบข้อมูลทั้งเป็ดและไก่แล้วนำมาเปรียบเทียบข้อเหมือนและข้อแตกต่าง ระหว่างไก่และเป็ด และให้เด็กออกมาสรุปเอง ผ่านสิ่งประดิษฐ์ที่เด็กประดิษฐ์ขึ้นมาเองทั้งเป็ดและไก่  การที่ให้เด็กสังเกตนอกสถานที่ จะทำให้เด็กได้รับทั้งประสบการณ์และได้สัมผัสกับสิ่งที่เขาได้ทดลองเรียนนรู้ที่เป็นของจริง

3.นางสาวชนิดา บุญนาโค
เรื่อง ให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
  • สร้างเจตคติที่ดีให้กับเด็ก 
  • ให้เด็กสังเกตและทดลองจริง
  • บูรณาการวิทาศาสตร์เข้ากับรายวิชาอื่นๆ
  • เปลี่ยนบรรยากาศพาเด็กไปสำรวจ
  • ให้เด้กประดิษฐ์ชิ้นงาน
  • พาเด็กไปชมนิทรรศการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • นำนิทานมาสอดแทรกเนื้อหาวิทยาศาสตร์
  • ให้เด็กจัดนิทรรศการเอง
4.นางสาวสรวงกมล สุเทวี
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มีความจำเป็นต่อเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ ได้ทดลอง การหาเหตุผลด้วยตนเอง เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ที่เราจัดให้กับเด็กที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

5.นางสาวณัชลิตา สุวรรณมณี
คุณครูหรือผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นการตั้งคำถามของเด็ก และกระบวนการคิดผ่านโครงงาน กระบวนการคิดของเด็กในเมืองกับเด็กชนบทจะแตกต่างกันเนื่องจาก สภาพแวดล้อม เนื้อหาข้อมูล ความเป็นอยู่ เป็นต้น

เทคนิคการสอนของอาจารย์
อาจาร์ยผู้สอนให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดแบบอิสระ  ให้เด็กได้คิด  และทำตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบภาพการ์ตูน  และการเล่นอย่างไรให้สิ่งของเคลื่อนไหวได้  สิ่งที่เด็กจะได้ ได้ฝึกการสังเกต  และลงมือประดิษฐ์เอง โดยมีอาจาร์ยผู้สอนให้คำปรึกษาอยู่ห่างๆ


การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำกิจกรรมงานประดิษฐ์ที่ครูสอนไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต   และสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมศิลปะ   วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์   เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  แรงดึง  เเรงดัน   จะทำให้เด็กมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ไปในตัว  และได้ปฏิบัติงานด้วยตนเอง



ประเมินตนเอง 
ในสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย   และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนเพื่อน 100 คะเเนน  เพราะเพื่อนตั้งใจเรียนและเเต่งกายเรียบร้อย  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามในห้องเรียน

ประเมินครูผู้สอน  
อาจารย์สอนเข้าใจง่าย   เเต่งกายเรียบร้อย  เเละเข้าสอนตรงเวลา   และ power point  มีความสวยงามดูแล้วไม่ลายตา เนื้อหาเข้าใจได้ง่าย ชัดเจนค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น