วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2557 
เวลาเรียน 08.30 น. ถึง 12.20 น


สิ่งที่ได้รับ
-อาจารย์อธิบายถึงวิธีเขียนบล็อกที่ถูกต้อง
-เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ 5 คน

บิดาแห่งการศึกษาปรฐมวัย คือ เฟรดริค วิสแฮม เฟรอเบล
 -ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
-ความหมายของวิทยาศาสตร์ การศึกษาสืบค้นและวัดระดับความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
-แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

  1. การเปลี่ยนแปลง
  2. ความแตกต่าง
  3. การปรับตัว
  4. การพึ่งพาอาศัยกัน
  5. ความสมดุล
สรุป
แนวคิดพื้นฐานที่ว่าทุกสิ่งบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และความแตกต่างย่อมล้วนแต่มีเหตุผล ความแตกต่างกันหรือคล้ายคลึงกันโดยอาศัยการปรับตัวและพึ่งพาอาศึยกันเพื่อให้เกิดความสมดุล

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  1. ขั้นกำหนดปัญหา
  2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
  3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
  4. ขั้นลงข้อสรุป
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
  1. ความอยากรู้อยากเห็น
  2. ความเพียรพยายาม
  3. ความมีเหตุผล
  4. ความซื้อสัตย์
  5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
  6. ความใจกว้าง
ความสำคัญและประโยชน์
ความสำคัญ
  • เสริมสร้างประสบการณ์
  • ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
  • พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ประโยชน์
  • พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
  • พัฒนาการทักษะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
การประยุกค์ใช้
วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทางการจัดกิดกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจะฝึกให้เด็กได้ฝึกปฎิบัติการวิเคราะห์สังเคราะห์ สืบเสาะหาความรุ้ด้วยตัวเอง การทำโครงงาน การทดลองจัดประสบการณ์ ออกแบบกิจกรรมด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

เทคนิคการสอน
  1. มีการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมที่เกิดจากการระดมความคิด
  2. การนำเสนอบทความ เป็นการวิเคราะห์บทความ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
คุณลักษณะที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งมี13ทักษะดังนี้
  1. ทักษะการสังเกต
  2. ทักษะการวัด
  3. ทักษะการจำแนก
  4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
  5. ทักษะการคำนวณ
  6. ทักษะการจัดทำ และสื่อความหมายข้อมูล
  7. ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
  8. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
  9. ทักษะการพยากรณ์
  10. ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
  11. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
  12. ทักษะการกำหนด และควบคุมตัวแปร
  13. ทักษะการทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น